หากจะแบ่งระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ให้เห็นเป้าหมาย เพื่อการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ระยะเวลาแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
เป้าหมาย : รณรงค์เพื่อสร้างกระแสค่านิยม “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น และเยาวชน อายุระหว่าง 6 – 24 ปี
การดำเนินงาน : เน้นการจัดตั้งชมรม และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE จัดหาสมาชิก สร้างและพัฒนาแกนนำอาสาสมัคร โดยมุ่งเรื่องการป้องกัน
ปัญหาในเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มทั่วไป
ผลที่ได้รับ : ความเข้มแข็งของสมาชิก
เป้าหมาย : พัฒนาคุณภาพสมาชิกให้เป็นคนเก่งและดี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่น และเยาวชนในทุกเรื่อง
การดำเนินงาน : เน้นการสร้าง และพัฒนาเครือข่าย สร้างสรรค์นวัตกรรม และองค์ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ส่งเสริมเยาวชนต้นแบบเก่งและดีให้เป็นคนรุ่นใหม่ในสังคม
ผลที่ได้รับ : ความมั่นคงของสมาชิก (ทั้งด้านอารมณ์ สังคม และจิตใจ)
เป้าหมาย : สมาชิกมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การดำเนินงาน : เน้นการส่งเสริมให้สมาชิกได้รับบริการ และเข้าร่วมกิจกรรมตามแนวทางโครงการ TO BE NUMBER ONE อย่างทั่วถึง ทั่วประเทศ สร้างรูปแบบของคนรุ่นใหม่ และสร้างสังคม TO BE NUMBER ONE ให้เกิดขึ้นในประเทศ
ผลที่ได้รับ : ความยั่งยืนของสมาชิก (ที่สามารถสืบทอดและสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น)
ในทศวรรษที่ 2 ของปี 2556 – 2565 โครงการ TO BE NUMBER ONE โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ขอสรุปสาระสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
1. เพิ่ม และพัฒนากิจกรรมในแต่ละยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การรณรงค์สร้างกระแส “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” เน้นการสร้างและพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ให้มีค่านิยม “ไม่พึ่งพายาเสพติด”
1. การเสด็จเยี่ยมสมาชิก
- ปรับรูปแบบและกิจกรรม
- สนองตอบต่อความต้องการของพื้นที่ให้มากขึ้น
- ขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมในแต่ละครั้ง
2. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการประกวดต่างๆ ให้ทันสมัย น่าสนใจ และสมาชิกได้ประโยชน์มากขึ้น
3. เผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์โครงการและผลงานผ่านช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
4. เพิ่มการจัดกิจกรรมการประกวด และการแข่งขันในเชิงสร้างสรรค์ สร้างความสามัคคีและเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้กับเยาวชน
1. ปรับและพัฒนาหลักสูตร
- แกนนำชมรม TO BE NUMBER ONE
- แกนนำอาสาสมัครประจำศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE
- สมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง
2. พัฒนาชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE
- เพิ่มองค์ความรู้เพื่อเสริมทักษะและพัฒนาคุณภาพสมาชิก TO BE NUMBER ONE เช่น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง, การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
- ปรับรูปแบบกิจกรรมให้ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของสมาชิก
3. พัฒนาหลักสูตร และจัดอบรมวิทยากรระดับจังหวัดให้สามารถสร้างแกนนำชมรมฯ และแกนนำอาสาสมัครประจำศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ของจังหวัด
4. จัดให้มีบริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติด ผู้เสพยาเสพติดในโครงการ “ใครติดยายกมือขึ้น” ก่อนเข้าสู่กระบวนการอบรมเพื่อฟื้นฟูจิตใจของโครงการระดับประเทศ
5. พัฒนาหลักสูตรค่ายฟื้นฟูจิตใจสมาชิก “ใครติดยายกมือขึ้น” โดยมีท่าน ว.วชิระเมธี แห่งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย และมูลนิธิวิมุตตยาลัยเป็นผู้ดูแลและให้คำปรึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างและพัฒนาเครือข่าย
1. ขยายเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE สู่ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (1 เทศบาล 1 ชมรม)
2. พัฒนาเครือข่าย
- จัดอบรมบุคลากรทั้งด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดบำบัดรักษาและฟื้นฟู
- จัดทำ Website ให้ความรู้ / เผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูล
- จัดประชุมประจำปี
3. พัฒนารูปแบบการประกวดผลการดำเนินโครงการฯ
- ระดับจังหวัด
- ระดับภาค
- ระดับพื้นที่ (มาตรฐานเพชร มีกรรมการอีก 1 ชุด)
- ระดับประเทศ (มาตรฐานเพชร มีกรรมการอีก 1 ชุด)
* เมื่อเข้าสู่มาตรฐานเพชร ให้ส่งประกวดเฉพาะที่งานมหกรรมระดับประเทศ โดยมีคะแนน 100 คะแนน
2. สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมในการดำเนินโครงการฯ
- กิจกรรมที่เป็นประโยชน์
- เป็นที่สนใจ และต้องการของสมาชิก
- ทันสมัย
3. สนับสนุนให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาคุณภาพทั้งด้านการดำเนินงาน และตัวสมาชิก
- องค์ความรู้ที่มีประโยชน์
- เป็นที่ยอมรับถึงผลสำเร็จ
- สามารถถ่ายทอดต่อเครือข่าย
4. เผยแพร่ผลงานสู่ต่างประเทศ โดยมีขั้นตอน คือ
- รวบรวมผลงาน และความสำเร็จของชมรมฯ ทุกประเภท
- สนับสนุนงบประมาณในการนำเสนอผลงานโครงการในต่างประเทศ
- จัดพิมพ์ผลงานเผยแพร่โครงการ TO BE NUMBER ONE เน้นการรณรงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
สงวนลิขสิทธิ์ © 2017 โครงการ TO BE NUMBER ONE | Credits