“การดูแลป้องกันเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด ต้องพยายามสร้างมาตรการทางสังคม ในการที่จะช่วยป้องกันปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น เนื่องจากยาเสพติดได้เข้ามาชักจูงหรือครอบงำวัยรุ่นได้ง่าย เพราะทัศนคติที่ถูกปลูกฝังในเด็กเยาวชนว่าแน่หรือเปล่า เมื่อเสพยาแล้วก็จะแน่ จะเท่ จะเป็นแมน จะเป็นคนกล้า การท้าทายกันแบบนี้ทำให้เด็กมีค่านิยมที่ผิดไป เมื่อมีค่านิยมที่ผิด ก็ต้องเปลี่ยนค่านิยมใหม่ เปลี่ยนทัศนคติใหม่”
“ในการแก้ปัญหายาเสพติดสำหรับเยาวชนนั้น ต้องสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเข้าใจถึงจิตใจ ความต้องการของเขา เพราะบางครั้งการเกิดปัญหายาเสพติดก็มาจากหลายสาเหตุ เราต้องสร้างค่านิยมใหม่ ต้องสร้างความมั่นใจให้เขารู้สึกดีกับตัวเอง ให้เขาได้สนุกโดยพยายามหากิจกรรมต่างๆมาใช้ เช่น ดนตรี กีฬา สิ่งเหล่านี้ทำให้คนมีสังคม มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตดี เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรมาร่วมด้วยกัน”
“การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดจากสังคมไทย ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ด้วยการทำงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ทุกองค์กร ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน และการรวมตัวกันของผู้ที่มีความตั้งใจที่จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จะทำให้เกิดพลังในการร่วมกันป้องกันปัญหายาเสพติดอย่างเข้มแข็ง”
เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมในโครงการ TO BE NUMBER ONE สนองพระดำรัสขององค์ประธานโครงการ TO BE NUMBER ONE จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ และสนองพระปณิธาน ดังนี้
1. การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน
3. การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
จากพระดำรัสต่อไปนี้
“บางครั้งการเกิดปัญหายาเสพติดมาจากหลายสาเหตุ จึงต้องสร้างค่านิยมใหม่ สร้างความมั่นใจให้เขารู้สึกดีกับตัวเอง ให้เขาได้สนุก โดยพยายามหากิจกรรมต่างๆ มาใช้ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้คนมีสังคม มีร่างกาย แข็งแรง มีสุขภาพจิตดี และไม่ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ”
ได้นำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ในยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มเยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2. เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนและชุมชนได้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยการสนับสนุนของสังคม
3. เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับผู้มีปัญหายาเสพติด และให้โอกาสกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
4. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันสารเสพติดในกลุ่มเยาวชนและประชาชนทั่วไป
วิธีดำเนินการ
ใช้การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมด้านดนตรี กีฬา ศิลปะและอื่นๆที่วัยรุ่นและเยาวชนชื่นชอบและให้ความสนใจ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลักซึ่งเป็นวัยรุ่นและเยาวชนได้ง่าย
การรณรงค์โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ
1. สื่อวิทยุโทรทัศน์ ได้แก่
- ผลิตและเผยแพร่รายการ TO BE NUMBER ONE Variety สัปดาห์ละ 1 ตอนๆ ละ 60 นาที ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทุกวันเสาร์ เวลา 20.30 - 21.30 น.
- ผลิต และเผยแพร่รายการ TO BE NUMBER ONE Variety สัปดาห์ละ 2 ตอนๆ ละ 60 นาที ทางสถานีวิทยุ FM 105 MHz Radio Report One ทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ เวลา 10.00 - 11.00 น.
- ผลิตสปอตวิทยุและโทรทัศน์
2. สื่อหนังสือพิมพ์
3. สื่อนิทรรศการ
4. สื่อ VCD DVD และ VDO
5. สื่อสัญลักษณ์ ได้แก่ เข็ม TO BE NUMBER ONE นิตยสาร TO BE NUMBER ONE นิตยสาร TO BE NUMBER ONE IDOL เพลง TO BE NUMBER ONE สายรัด ข้อมือ ฯลฯ
6. ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโครงการ เช่น นิตยสาร เสื้อ และสายรัดข้อมือ เป็นต้น
การรณรงค์โดยการจัดกิจกรรม
1. องค์ประธานโครงการเสด็จเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานโครงการ เสด็จเปิดชมรมและศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในจังหวัดภูมิภาคและเขตกรุงเทพมหานคร
2. จัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชน สถานพินิจฯ / ศูนย์ฝึกอบรม เรือนจำ / ทัณฑสถาน และสำนักงานคุมประพฤติจังหวัด
ทั่วประเทศ เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมตลอดปี
3. จัดการแข่งขันTO BE NUMBER ONE TEEN DANCERCISE CHAMPIONSHIP ประจำทุกปี
4. จัดประกวดผลงานในโครงการ TO BE NUMBER ONE ระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ
5. จัดงานมหกรรมรวมพล TO BE NUMBER ONE ประจำทุกปี
6. จัดประกวดเยาวชนต้นแบบเก่งและดี TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE IDOL) ประจำทุกปี
7. จัดนิทรรศการ คอนเสิร์ต และกิจกรรมอื่นๆ เนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ
8. จัดประกวดกิจกรรมสร้างสรรค์ และพัฒนา EQ สำหรับกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน
“เยาวชนส่วนใหญ่ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดมักมีปัญหาทางด้านจิตใจที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในทางที่เหมาะสมได้ ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชนจึงเป็นการป้องกันปัญหายาเสพติดที่ตรงที่สุด”
จากพระดำรัสข้างต้นโครงการ TO BE NUMBER ONE จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน โดยการถ่ายทอดความรู้และฝึกทักษะให้แก่แกนนำเยาวชนทั้งใน และนอกสถานศึกษา เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ให้แก่เพื่อนเยาวชน และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ให้มีสุขภาพจิตที่ดีมีจิตใจที่เข้มแข็ง อันจะเป็นการป้องกันปัญหายาเสพติดในอนาคต
1. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้แกนนำเยาวชนสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เพื่อนเยาวชน ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหายาเสพติดในอนาคต
2. เพื่อให้แกนนำเยาวชนสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่เพื่อนเยาวชนได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้แกนนำเยาวชนได้รับการเสริมสร้างทักษะในการช่วยเหลือเพื่อนเยาวชนให้มีกำลังใจที่เข้มแข็งสามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากยาเสพติด
4. เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่สมาชิก TO BENUM BER ONE
วิธีดำเนินการ
1. จัดค่ายพัฒนาแกนนำอาสาสมัคร TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE CAMP FOR LEADERS) สำหรับสมาชิกแกนนำในชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE
2. จัดค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง (TO BE NUMBER ONE CAMP FOR MEMBERS) สำหรับสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา ในศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE และในชุมชนกรุงเทพมหานครและภูมิภาค โดยองค์ประธานเสด็จทรงปิดค่ายและพระราชทานเกียรติบัตร
3. ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน
4. สนับสนุนองค์ความรู้และสื่อในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน
2. การจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER)
การจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONEเป็นกิจกรรมหนึ่งของชมรม TO BE NUMBER ONE ซึ่งแกนนำอาสาสมัคร(เยาวชน) ประจำศูนย์จะเป็นผู้บริหารจัดการจัดกิจกรรมและให้บริการต่างๆภายในศูนย์ เป็นกิจกรรมซึ่งจัดบริการให้กับสมาชิก TO BE NUMBER ONE ที่เข้ามาในศูนย์เท่านั้น หากกิจกรรมใดก็ตามที่จัดขึ้นนอกศูนย์ จะดำเนินการโดยชมรม TO BE NUMBER ONE ซึ่งบริหารจัดการโดยคณะกรรมการชมรม (ดูรายละเอียดในการจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เยาวชนที่มีปัญหา หรือต้องการความช่วยเหลือได้รับคำปรึกษาแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม จากผู้เชี่ยวชาญหรือเพื่อนอาสาสมัครที่ผ่านการอบรม
2. เพื่อให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ และเพิ่มพูนทักษะจากการฝึกแก้ปัญหาและ พัฒนา EQ ทั้งด้วยตนเองและจากกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกัน
3. เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยเข้าร่วมกิจกรรมที่ สร้างสรรค์และเสริมสร้างความสุขให้กับตนเอง ด้วยการฝึกทักษะด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ ฯลฯ จากผู้เชี่ยวชาญ
4. เพื่อให้โอกาสแก่เยาวชนได้มีสถานที่ที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ในการทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน
5. เพื่อให้เยาวชนกลุ่มหนึ่งที่มีความสามารถ เข้ารับการอบรมเป็นอาสาสมัครให้ คำปรึกษาเพื่อนช่วยเพื่อน
การดำเนินงาน
1. จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา
2. จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานประกอบการ
3. จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานพินิจและศูนย์ฝึกอบรมฯ ในสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ทัณฑสถานและเรือนจำในสังกัดกรมราชทัณฑ์และสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดในสังกัดกรมคุมประพฤติ
4. จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในศูนย์การค้า (เฉพาะเมืองใหญ่ที่มีสถานที่เหมาะสม) เช่น ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ซีคอนสแควร์
ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต และเดอะมอลล์บางแค ซึ่งทั้ง 4 แห่ง กรมสุขภาพจิตเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงาน โดยจัดหาแกนนำอาสาสมัครมาเป็นผู้บริหารจัดการ
การสนับสนุน
กรมสุขภาพจิต เป็นผู้ผลิตและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีในการจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE รวมทั้งสนับสนุนวิทยากร องค์ความรู้ ตลอดจนคู่มือและสื่อที่เกี่ยวข้องทุกประเภท
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพสมาชิกเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ผู้ปฏิบัติงานในโครงการ TO BE NUMBER ONE และผู้เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้โครงการ TO BE NUMBER ONE ได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตและพัฒนาองค์ความรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้โครงการ TO BE NUMBER ONE สำหรับเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ทั่วประเทศ
3. เพื่อให้สมาชิกเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การขยายผลและพัฒนาประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
4. เพื่อให้สมาชิกเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ทั่วประเทศมีกำลังใจ มีความผูกพันพร้อมที่จะช่วยเหลือกัน ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานภายใต้โครงการ TO BE NUMBER ONE อย่างจริงจังต่อเนื่องซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพลังแผ่นดินอย่างแท้จริง
การดำเนินงาน
1. พัฒนาระบบการจัดเก็บและรายงานข้อมูลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE
2. พัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายสมาชิก TO BE NUMBER ONE และผู้ปฏิบัติงานในโครงการ TO BE NUMBER ONE และผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่
- Website www.tobenumber1.net / และ www.tobefriend.in.th
- นิตยสาร TO BE NUMBER ONE ราย 3 เดือน (ปีละ 4 ฉบับ)
- ตอบจดหมายผ่านรายการ TO BE NUMBER ONE Variety ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทุกวันเสาร์ เวลา 20.30 - 21.30 น.
3. พัฒนาองค์ความรู้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้โครงการ TO BE NUMBER ONE สำหรับเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ได้แก่ คู่มือการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE
คู่มือการประกวดกิจกรรมในโครงการ TO BE NUMBER ONE คู่มือการจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE คู่มือการจัดตั้ง และดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE
ตลอดจนองค์ความรู้ในการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ
4. ประสานงานและสนับสนุนการประกวดชมรม/จังหวัด TO BE NUMBER ONE ดีเด่น ระดับจังหวัด
5. ประสานความร่วมมือในการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมรวมพล TO BE NUMBER ONE ประจำปี
6. จัดอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อพัฒนาคุณภาพสมาชิกเครือข่าย
7. ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
สงวนลิขสิทธิ์ © 2017 โครงการ TO BE NUMBER ONE | Credits